คุณแม่โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย

รูปของฉันเอง

นิทานจิ้งจอกกับผลองุ่น

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีการศึกษา

รหัสวิชา ล.1008
อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์


คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธีระบบกระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนการจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักกับสภาพของชั้นเรียน

วัตถุประสงค์ทั่วไป
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนแล้วนักศึกษาจะมีความสามารถดังต่อไปนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจ ความหมาย ขอบข่ายความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนตลอดจนการประเมินผล
2.สามารถปฏิบัติการการจัดหา ผลิต ใช้และเก้บรักาสื่อการเรียนการสอน
3.มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้

วัตถุประสงค์ของรายวิชา
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชานี้แล้วนักศึกษาจะมีความสามารถหรือมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 1.มีความเข้าใจความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2.สามารถอธิบายความหมาย คุณค่า ประเภท หลักการจัดหา การเลือก การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมได้
3.สามารถอธิบายหลักจิตวิทยาการรับรู้ และจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกระบวนการสื่อความหมายและการเรียนการสอนได้
4.สามารถประยุต์วิธีระบบมาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5.สามารถอธิบายหลักการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน

เนื้อหา
การจัดลำดับเนื้อหาจากการศึกษาคำอธิบายรายวิชา ผู้สอนได้วิเคราะห์เนื้อหา แล้วจำแนกและเรียงลำดับให้เหมาะกับการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งเป็น 14 หน่วย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 32 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาแต่ละหน่วย การเรียนการสอนได้เรียงลำดับดังนี้
หน่วยการเรียนที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 2 สื่อการสอน
หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการสอนประเภทวัสดุ
หน่วยการเรียนที่ 4 สื่อการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์
หน่วยการเรียนที่ 5 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
หน่วยการเรียนที่ 6 การสื่อความหมาย
หน่วยการเรียนที่ 7 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การจัดระบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 10 นวัตกรรการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 11 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกา
หน่วยการเรียนที่ 12 แนวโน้วของเทคโนโลยีการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 13 การฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 14 การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อกิจกรรม
หน่วยที่1เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. เทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูป ศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุม ระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษา ครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm) สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm) ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการ ใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆใน กระบวนการเรียนการสอน (boonpanedt01.htm) Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทาง การศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับ โสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตา ดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำ โสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า
2. เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational Technology)เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษาการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กันทั่วๆไปหมายถึงการระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล(พิสูจน์ได้)มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดีสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรลุ จุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด อันที่จริง แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทาง ปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัย และทำไปอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการกล่าวถึง เทคโนโลยีทางการศึกษา เราคุ้นเคยอยู่กับ โสตทัศนศึกษากันแล้ว แม้กระทั่งเดี่ยวนี้ คนก็ยังคิดว่า โสตทัศศึกษา ก็คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ก็คือ โสตทัศนศึกษา ที่คิดอย่างนั้น ก็มีส่วนถูก อยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดแรก แต่มันมีความถูกต้องไม่มากนักหรือเกือบผิด ก็ว่าได้ ความคิดหลังนั้น ถูกตรงที่ โสตทัศนศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาเท่านั้น
3.ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีอยู่หลายทัศนะ องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น" ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทาง การศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการ ศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น" คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission onInstructionalTechnology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรอื่นๆมาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น" Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน" ชัยยงค์ อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material)หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
4. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายกว้างขวางพอๆ กับความหมาย ของคำว่า “การศึกษา” เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการแก้ปัญหาทางการศึกษาอย่างมีหลักการและเหตุผล เป็นแนว คิดที่มีระบบเกี่ยวกับการเรียนการสอน เทคโนโลยี (Technology) คำว่า Technology มีรากศัพท์มา จากภาษากรีซ คือ tech หมายถึง art ในภาษาอังกฤษ และคำว่า logos หมายถึง A study of ดังนั้น Technology จึงหมายถึง A study of art เทคโนโลยี มิใช่เฉพาะเครื่องจักร กับคนเท่านั้น แต่เป็นการ จัดระเบียบที่บูรณาการ และมีความซับซ้อน อันประกอบด้วย คน เครื่องจักร ความคิด วิธีการ และการจัดการ Carter V.good กล่าวว่าเทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการ ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ให้ความหมายเทคโนโลยีว่า หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็น วิทยาศาสตร์ ประยุกต์ นั่นเอง ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ให้คำจำกัดความว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์พื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมกล่าวโดยสรุป เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาระเบียบ วิธีการ อันเป็นผลิตผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่งานด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษา (Education)การศึกษา หมายถึง การผสมผสานกระบวนการทั้งหลาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความ สามารถ ทัศนคติ และรูปแบบที่น่าพึงพอใจของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่เขาอาศัยอยู่(AECT:1979) สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (1979:12) ให้คำอธิบายว่าความคิด เครื่องมือ และการจัดการ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา การจัดการวิธีแก้ปัญหา การปรับปรุงและการแก้ปัญหามาใช้ซึ่งต้องใช้แนวทางทั้งหลายของการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทาง เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น จะรวมเอาแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายที่ออกแบบ เลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมาย ที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ได้ให้นิยามว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น Carter V. Good กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
นวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่าง ถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมา ประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่ง หนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการ เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ใน เชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้าเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และ วิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลัก ดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร